โรงเรียนแพทย์ต่างประเทศ


คำแนะนำและคำเตือน

คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในต่างประเทศและกลับมาประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย คลิก!! เพื่ออ่าน

ผู้ที่มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในต่างประเทศและกลับมาประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย ให้ดำเนินการ และรับทราบดังนี้

  1. ตรวจสอบรายชื่อโรงเรียนแพทย์ในต่างประเทศที่แพทยสภารับรอง และขั้นตอนการยื่นเรื่องให้รับรองสถาบัน ในกรณีที่ไม่พบชื่อสถาบันที่ไปศึกษา สถาบันแห่งนั้นอาจอยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณา หรือยังไม่ได้รับการรับรอง สอบถามได้ที่ฝ่ายฝึกอบรมและสอบ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา
  2. ในกรณีที่โรงเรียนแพทย์ที่ได้รับการรับรองจากแพทยสภาแล้ว เมื่อท่านติดต่อสมัครเข้าเรียน ณ โรงเรียนแพทย์ที่จะไปศึกษา และได้รับการยืนยันว่าสถาบันรับท่านเข้าศึกษาแล้ว ให้ติดต่อฝ่ายฝึกอบรมและสอบฯ เพื่อดำเนินการขอขึ้นทะเบียนและขอให้รับรองปริญญาของหลักสูตรแพทยศาสตร์ที่จะไปศึกษา ให้เรียบร้อยก่อนที่จะเดินทางไปศึกษา (มีค่าธรรมเนียม)
  3. ในกรณีที่โรงเรียนแพทย์ที่แพทยสภายังไม่รับรอง
    1. ติดต่อฝ่ายฝึกอบรมและสอบฯ พื่อดำเนินการขอให้แพทยสภารับรองปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตของสถาบันที่จะไปศึกษา ให้เรียบร้อยก่อนที่จะเดินทางไปศึกษา
    2. ในกรณีที่ไปศึกษาที่โรงเรียนแพทย์ที่แพทยสภายังไม่ได้รับรองปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต แล้วมายื่นเรื่องขอให้รับรองภายหลัง โรงเรียนแพทย์แห่งนั้นอาจไม่ได้รับการรับรองจากแพทยสภา หากการเรียนการสอนไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งจะทำให้นักศึกษาหรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่มีสิทธิสมัครเป็นแพทย์ฝึกหัด และไม่มีสิทธิสมัครสอบเพื่อประเมินความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทยได้
  4. การรับรองปริญญาของสถาบันผลิตแพทย์
    1. โรงเรียนแพทย์ที่แพทยสภารับรองมีอายุการรับรอง 5 ปี
    2. ในกรณีที่สถาบันที่ได้รับการรับรองไว้แล้ว และท่านได้เข้าศึกษาก่อนวันหมดอายุ แต่ท่านมิได้มาขึ้นทะเบียนและรับรองปริญญากับแพทยสภา ตามข้อ 2 จนพ้นอายุการรับรองไปแล้ว เมื่อมีการ
    3. เมื่อท่านได้ขึ้นทะเบียนและได้รับการรับรองปริญญาที่จะสำเร็จการศึกษาแล้ว สิทธิของท่านจะติดตัวไปตลอด แม้ว่าในภายหลังโรงเรียนแพทย์แห่งนั้นจะหมดอายุการรับรอง หรือไม่ได้รับการต่ออายุการรับรองปริญญาอีก
  5. การเป็นแพทย์ฝึกหัดในประเทศไทย ภายหลังจากที่สำเร็จการศึกษาครบถ้วน และได้รับปริญญาแพทยศาสตร์แล้ว
  6. กรณีที่ท่านไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมมาจากประเทศที่สำเร็จการศึกษา หรือประเทศอื่นใด ท่านจะต้องผ่านการอบรมแพทย์ฝึกหัดในสถาบันของประเทศที่ท่านศึกษา หรือสถาบันในประเทศไทยที่แพทยสภารับรอง เป็นระยะเวลา 1 ปี (มีค่าธรรมเนียม)

    ปัจจุบัน จำนวนตำแหน่งแพทย์ฝึกหัดที่แต่ละสถาบันรับได้ ไม่เพียงพอกับจำนวนผู้สำเร็จการศึกษา แนะนำให้ฝึกอบรมต่อในโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยนั้นๆ โดยประสานให้แพทยสภารับรองโรงพยาบาลนั้นก่อนเข้ารับการฝึกอบรม

  7. การสอบเพื่อประเมินความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน
    • ขั้นตอนที่ 1 หมวดวิทยาศาสตร์พื้นฐานทางการแพทย์ ภาษาอังกฤษ 300 ข้อ
    • ขั้นตอนที่ 2 หมวดวิทยาศาสตร์ทางคลินิก ภาษาอังกฤษ 300 ข้อ
    • ขั้นตอนที่ 3 หมวดทักษะและหัตถการทางคลินิก (OSCE) Long Case Examination และ Modified Essay Question

    Long Case Examination และ Modified Essay Question จัดสอบที่โรงเรียนแพทย์ทุกแห่ง ท่านสามารถเลือกสอบที่โรงเรียนแพทย์แห่งใดก็ได้ โดยศึกษารายละเอียดได้จาก www.cmathai.org

    ทั้งนี้ เมื่อท่านสอบผ่านครบทุกขั้นตอนแล้ว ให้นำผลการสอบไปติดต่อศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม(ศรว.) อีกครั้งหนึ่งเพื่อออกใบรับรองสอบผ่านครบทุกขั้นตอนให้กับท่าน สำหรับการสมัครสมาชิกและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่แพทยสภา

  8. การขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
    • ศึกษารายละเอียดได้จาก www.tmc.or.th ฝ่ายทะเบียน
  9. การศึกษาฝึกอบรมหลังได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
    1. แพทย์เพิ่มพูนทักษะ (สำหรับเป็นเงื่อนไขในการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านบางสาขา
    2. แพทย์ประจำบ้าน / แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
    3. ศึกษารายละเอียดได้จาก www.tmc.or.th ฝ่ายฝึกอบรมและสอบ

  10. ขั้นตอนการยื่นเรื่อง
  11. ฝ่ายฝึกอบรมและสอบ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา โทรฯ 02-590-1880, 086 081 1208 e-mail : edu@tmc.or.th

คำเตือนสำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน คลิก!! เพื่ออ่าน

ด้วยปัจจุบันมีผู้ที่สนใจไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ ในสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นจำนวนมาก แพทยสภาขอแจ้งให้ทราบว่า การรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในสาธารณรัฐประชาชนจีน แพทยสภามีมติรับรองหลักสูตร 6 ปีที่มีการจัดการเรียนตลอดหลักสูตร ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน และรับรองโรงพยาบาลที่ใช้ในการเรียนการสอนระดับคลินิกเฉพาะที่ระบุมาในหลักสูตรและอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีนเท่านั้น

นักศึกษาต้องยื่นเรื่องให้แพทยสภารับรองหลักสูตรและสถาบันเป็นรายบุคคล เพื่อให้นักศึกษามีสิทธิสมัครสอบเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทยได้

การรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตต่างประเทศ เป็นการรับรองเนื้อหาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านปรีเมด ปรีคลินิก คลินิก และชั่วโมงเรียนรวมเป็นจำนวนหน่วยกิต โดยเทียบเคียงกับการรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในประเทศไทย แต่ทั้งนี้ไม่ได้รวมไปถึงการบริหารจัดการของสถาบัน

แพทยสภาจึงขอเตือนผู้ที่จะไปศึกษา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับทราบถึงปัญหาการเรียนเพื่อใช้ในการตัดสินใจและเตรียมตัวต่อไป ดังนี้

  1. การเรียนระดับปรีเมด ปรีคลินิก เป็นการบรรยายและฝึกปฎิบัติในห้องเรียนส่วนใหญ่ ต่างกับการเรียนหลักสูตรของประเทศไทยที่สอนผสมผสานสอดคล้องกับวิธีการประเมินขั้นตอนที่ 1 ของแพทยสภา นักศึกษาจะมีความยากลำบากในการสอบขั้นตอนนี้
  2. โรงพยาบาลทุกระดับใช้ภาษาจีนในการสื่อสารทั้งการอ่านการเขียนและเจรจาโดยเฉพาะคนไข้ ญาติ แพทย์พยาบาลที่ดูแลประจำหอผู้ป่วย แม้มีล่ามช่วยแปลก็ตาม ทำให้เรียนไม่เข้าใจต้องลาออกกลางทาง หรือเมื่อสำเร็จการศึกษาไม่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านคลินิกเพียงพออาจทำให้ไม่สามารถสอบเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในไทยได้ นอกจากนั้นระบบเวชระเบียน ใบสั่งยาเกี่ยวกับคนไข้เป็นภาษาจีนทั้งหมดด้วย
  3. นักศึกษาจำเป็นต้องมีความรู้แตกฉานเรื่องภาษาจีนในช่วงระดับคลินิกซึ่งจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มมากกว่าในหลักสูตรทั่วไป
  4. ผลการประเมินขั้นตอนที่1และ 2 ของแพทยสภาสำหรับนักศึกษาที่มีสิทธิสมัครสอบทั้งหมดไม่ผ่านเกณฑ์
  5. ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องประเมินตนเองให้มากที่สุดก่อนการตัดสินใจ เพราะการเป็นแพทย์รักษาผู้ป่วยในประเทศไทยจำเป็นต้องสอบผ่านได้ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมก่อน ซึ่งเป็นข้อบังคับสำหรับแพทย์ทุกคนทั้งที่จบในประเทศไทยหรือต่างประเทศ

คำเตือน เรื่องการฝึกปฏิบัติงานระดับคลินิกที่โรงพยาบาลในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ คลิก!! เพื่ออ่าน

ตามที่แพทยสภาได้มีมติรับรองปริญญาในวิชาแพทยศาสตร์ ของสถาบันผลิตแพทย์ในต่างประเทศ และรับรองโรงพยาบาลร่วมสอนในระดับคลินิกที่ระบุมาในหลักสูตรและอยู่ในประเทศที่ศึกษา เนื่องจากการศึกษาในระดับคลินิกเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรที่นับหน่วยกิตเพื่อจบการศึกษาด้วย แล้วนั้น

สำนักงานเลขาธิการแพทยสภาขอแจ้งให้นักศึกษาทุกท่านทราบว่าจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในการรับรองปริญญาในวิชาแพทยศาสตร์ที่แพทยสภาได้ออกหนังสือรับรองปริญญาในวิชาแพทยศาสตร์ให้แล้ว

ทั้งนี้ หากแพทยสภาพบว่าท่านไม่ปฏิบัติตามโดยกลับมาฝึกปฏิบัติงานในประเทศไทย หรือในประเทศอื่นๆ แพทยสภาจะไม่รับรองการฝึกปฏิบัติงานระดับคลินิกของท่าน และจะไม่สามารถนำผลการฝึกปฏิบัติงานระดับคลินิกในประเทศไทยหรือต่างประเทศไปใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรได้

ขั้นตอนการยื่นเรื่องให้รับรองปริญญา

ขั้นตอนการยื่นเรื่องให้รับรองปริญญาของสถาบันผลิตแพทย์ต่างประเทศเป็นรายบุคคล สำหรับผู้มีสัญชาติไทย เพื่อให้มีสิทธิสมัครสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย(*กรุณาอ่านข้อมูลด้านล่างให้ครบถ้วน)

  1. ให้ท่านอ่านคำแนะนำ
  2. ขั้นตอนการยื่นเรื่อง
    1. รายละเอียดและขั้นตอนการยื่นเรื่อง ดาวน์โหลดเอกสาร
    2. เขียนคำร้องให้รับรองมาตรฐานหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตต่างประเทศ ดาวน์โหลดเอกสาร พร้อมแนบเอกสารดังนี้
      • สำเนาบัตรประชาชน
      • สำเนาหลักฐานว่าสำเร็จการศึกษาก่อนสมัครเข้าเรียนแพทย์ (Transcript ที่มี GPA)
      • หลักฐานการตอบรับเข้าศึกษาจากสถาบันผลิตแพทย์
  3. ชำระเงินค่าธรรมเนียมในการขึ้นทะเบียนเพื่อรับรองหลักสูตร 15,000 บาท คำร้อง 100 บาท
  4. กรณีที่ไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเองได้ ให้ส่งคำร้องพร้อมหลักฐาน และสำเนาการโอนเงิน 15,100 บาท เข้าบัญชีแพทยสภา ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) เลขที่บัญชี 340 2 01174 4 มาที่ คุณทิพสิริ กรีวิชัย ฝ่ายฝึกอบรมและสอบ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา ชั้น 12 อาคารมหิตลาธิเบศร ซอยสาธารณสุข 8 กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ : 02-590-1883, 086-0811208

ในกรณีที่สถาบันผลิตแพทย์ที่ท่านไปศึกษายังไม่ได้รับการรับรอง แพทยสภามีขั้นตอนดำเนินการพิจารณา ดังนี้

  1. ส่งจดหมายถึง Dean พร้อมแนบแบบฟอร์ม Information sheet of Foreign Medical School V.2013 ให้สถาบันกรอก
  2. Dean ตอบจดหมายกลับมาพร้อมแนบแบบฟอร์ม Information sheet of Foreign Medical School ที่กรอกข้อมูลสมบูรณ์แล้ว (ใช้เวลาประมาณ 2-5 เดือน)
  3. แพทยสภาส่งข้อมูลให้คณะอนุกรรมการพิจารณามาตรฐานหลักสูตรและสถาบันผลิตแพทย์ในต่างประเทศพิจารณา ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ มีการประชุม 3 เดือน/ครั้ง เมื่อพิจารณาเสร็จแล้วจะส่งเรื่องเข้าคณะกรรมการแพทยสภา มีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง พฤหัสบดีที่ 2 ของเดือน
  4. ในกรณีที่มีผู้มายื่นเรื่องให้รับรองปริญญาของสถาบันผลิตแพทย์ และสำนักงานเลขาธิการแพทยสภาได้ส่งจดหมายถึง Dean เพื่อขอข้อมูลของหลักสูตรและสถาบันแล้ว แต่หากสถาบันไม่ส่งข้อมูลกลับมาภายใน 1 ปี จะถือว่าไม่ประสงค์ที่จะให้พิจารณาเรื่องที่ยื่นไว้ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา จะจำหน่ายคำร้องออกจากระบบต่อไป
  5. ในกรณีที่คณะอนุกรรมการพิจารณามาตรฐานหลักสูตรและสถาบันผลิตแพทย์ในต่างประเทศ มีมติให้ขอข้อมูลเพิ่มเติม ต้องดำเนินการจัดส่งให้คณะอนุกรรมการฯ ภายใน 6 เดือน นับจากวันที่สำนักงานเลขาธิการแพทยสภามีหนังสือแจ้งไป หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด จะถือว่าไม่ประสงค์ที่จะให้พิจารณารับรองปริญญาของสถาบันที่ยื่นเรื่องไว้ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา จะจำหน่ายคำร้องออกจากระบบต่อไป
  6. เมื่อแพทยสภารับรองปริญญาของสถาบันผลิตแพทย์ และนักศึกษาได้เข้าศึกษาแล้ว หากมีการย้ายสถาบันการศึกษาในภายหลัง จะต้องมาติดต่อสำนักงานเลขาธิการแพทยสภา เพื่อดำเนินเรื่องขอย้ายสถาบันการศึกษาด้วย
  7. ในกรณีที่เข้าศึกษาภายหลังจากสถาบันหมดอายุการรับรอง แพทยสภาจะดำเนินการพิจารณาตามกระบวนการรับรองใหม่ทั้งหมด โดยไม่มีการรับรองย้อนหลังตั้งแต่วันเข้ารับการศึกษา

การขอใบแทน หนังสือรับรองปริญญาเป็นรายบุคคลของสถาบันผลิตแพทย์ในต่างประเทศ

ขั้นตอนดำเนินการ

ยื่นคำขอใบแทนหนังสือรับรองปริญญาเป็นรายบุคคลของสถาบันผลิตแพทย์ในต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา คุณทิพสิริ กรีวิชัย ฝ่ายฝึกอบรมและสอบ

  1. ค่าธรรมเนียม 5,000 บาท/ฉบับ
  2. สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา จัดทำใบแทนประมาณ 1 สัปดาห์
  3. ติดต่อรับใบแทน ที่แพทยสภา หรือ ให้จัดส่งตามที่แจ้งความจำนงไว้

หมายเหตุ กรณีที่ไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเองได้ ให้ส่งเอกสารต่อไปนี้

  1. คำขอใบแทน ดาวน์โหลดเอกสาร
  2. สำเนาการโอนเงิน 5,000 บาท เข้าบัญชีแพทยสภา ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)
    เลขที่บัญชี 340 2 01174 4 มาที่ คุณทิพสิริ กรีวิชัย ฝ่ายฝึกอบรมและสอบ
    สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา ชั้น 12 อาคารมหิตลาธิเบศร ซอยสาธารณสุข 8 กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ : 02-590-1883, 086-0811208

การขอย้ายสถาบันการศึกษาแพทยศาสตร์ต่างประเทศที่แพทยสภารับรอง

ขั้นตอนดำเนินการ

  • ยื่นคำขอย้ายสถาบันการศึกษาแพทยศาสตร์ต่างประเทศ เพื่อให้แพทยสภาออกหนังสือรับรองเป็นรายบุคคลให้ใหม่แทนฉบับเดิม ณ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา คุณทิพสิริ กรีวิชัย ฝ่ายฝึกอบรมและสอบ
  • หลักฐานต่างๆ ประกอบการยื่นเรื่อง ดังนี้
    1. เอกสารการรับรองหลักสูตรและสถาบันที่แพทยสภาออกให้ครั้งแรก
    2. เอกสารการรับเข้าศึกษาของสถาบันแห่งใหม่
    3. สำเนาบัตรประชาชน
  • ค่าธรรมเนียม
    1. ย้ายไปในสถาบันที่แพทยสภารับรองในประเทศเดียวกัน 2,500 บาท
    2. ย้ายไปในสถาบันที่แพทยสภารับรองในประเทศอื่น 20,000 บาท
  • สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา จัดทำใบแทนประมาณ 1 สัปดาห์
  • ติดต่อรับใบแทน ที่แพทยสภา หรือ ให้จัดส่งตามที่แจ้งความจำนงไว้

หมายเหตุ กรณีที่ไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเองได้ ให้ส่งเอกสารต่อไปนี้

  • คำขอย้ายสถาบัน    ดาวน์โหลดเอกสาร
  • สำเนาการโอนเงิน เข้าบัญชีแพทยสภา ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)
    เลขที่บัญชี 340 2 01174 4 มาที่ คุณทิพสิริ กรีวิชัย ฝ่ายฝึกอบรมและสอบ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา ชั้น 12 อาคารมหิตลาธิเบศร ซอยสาธารณสุข 8 กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ : 02-590-1883, 086-0811208

รายชื่อโรงเรียนแพทย์ต่างประเทศที่แพทยสภารับรอง

รายชื่อโรงเรียนแพทย์ต่างประเทศที่แพทยสภารับรอง   Download

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด: ธันวาคม 2565

ฝ่ายฝึกอบรมและสอบ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา โทรฯ 02-590-1883, 086-081-1208 e-mail : edu@tmc.or.th


ใบรับรองแพทย์ (ตรวจสุขภาพ)


ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง  


FOLLOW US

Copyright © สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์โดยแพทยสภา ห้ามทำการลอกเลียน ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดนอกจากจะได้รับอนุญาต